ReadyPlanet.com
dot
Plating solutions
dot
bulletน้ำยาร่อนเข็ม
bulletน้ำยาล้างอุลตร้าโซนิค
bulletน้ำยาล้างไฟฟ้า
bulletกรดซัลฟูริค
bulletชุบโรเดียม
bulletชุบรูเธเนี่ยม
bulletชุบพลาเดียม
bulletชุบแพลทตินั่ม
bulletชุบนิเกิลเงา
bulletชุบบรอนซ์สีขาว เหลือง
bulletชุบทองแดง
bulletชุบเงิน
bulletชุบทองหลากหลายสี
bulletผลิตงานฟอร์มมิ่ง-เงิน
bulletชุบแลคเกอร์ไฟฟ้า
bulletแลคเกอร์ปิดผิวงาน
dot
Plating Equipments / accessories
dot
bulletเครื่องชุบงาน
bulletเครื่องแต้มปากกา
bulletปากกาสำหรับแต้ม
bulletหัวปากกาแต้ม
bulletแผ่นล่องานชุบ
bulletJigs for plating
bulletเตาหมุนให้ความร้อน
bulletเครื่องจ่ายกระแสไฟฟ้า
bulletแอมแปร์มินิท
bulletระบบทำความเย็น
bulletระบบดูดอากาศ
dot
Finishing equipments
dot
bulletเครื่องร่อนเข็ม
bulletน้ำยาร่อนงาน
bulletมีเดียร์
dot
Water Purification and treatments
dot
bulletระบบน้ำกลั่น
bulletFiltrations
bulletFilters
bulletผงคาร์บอน
dot
Enamel system
dot
bulletระบบลงสีงาน Enamel
bulletตู้อบ
bulletตัวฉีดสี
bulletหลอดและเข็ม
bulletสีอินาเมล
bulletตัวทำแข็ง Catalyst
bulletทรานส์เฟอร์ ฟอร์ย
dot
Alloys
dot
bulletอัลรอย ทอง/เงิน
dot
Casting
dot
bulletGraphite and Crucibles
bulletInduction Furnaces
bulletElectric Furnaces
dot
Accessories
dot
bulletชุดอุปกรณ์ตรวจสอบ
bulletHull cell test unit
bulletบีกเกอร์
bulletลวดทองแดง
bulletตัววัดอุณหภูมิ
bulletกระดาษกรอง
bulletกระดาษ PH
bulletระบบทำความร้อน
bulletผงถ่านกรอง
bulletน้ำกรดล้างงาน
dot
Services
dot
bulletวิเคราะห์น้ำยา
bulletที่ปรึกษางานชุบ
bulletPlating plan design and implementation
bulletสอนนอกสถานที่
bulletการบำรุงรักษา
dot
Training Courses
dot
bulletการชุบ
bulletEnamel
bulletการขัด
bulletการสกัดน้ำยาชุบ
bulletUpcoming events




เทคนิค

 

 

 

การชุบโลหะไม่มีค่าประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้ 

 

          การชุบทองแดงด่าง เป็น การชุบรองพื้น เพื่อให้การเคลือบผิวขั้นต่อไปยึดเกาะผิวได้ดีขึ้น เนื่องจากทองแดงด่างมีการยึดเกาะกับผิวชิ้นงานได้ดีมาก และโลหะมีค่าที่จะนำมาชุบทับสามารถยึดเกาะกับทองแดงด่างได้ดีกว่าเกาะผิวชิ้นงานโดยตรง รวมทั้งเพื่อเพิ่มความหนาของผิว ส่วนการชุบทองแดงกรดจะทำให้ผิวเรียบมันเงา ทำให้โลหะที่ชุบทับต่อไปเรียบเงา การชุบนิกเกิลจะทำให้ผิวชิ้นงานเป็นเงาสีขาวอมเหลือง เมื่อนำไปชุบทองหรือโลหะอื่นจะได้ชิ้นงานที่มีผิวชุบที่เงางาม ขั้นสุดท้ายเป็นการชุบโลหะมีค่า ได้แก่ โครเมียม ทองเหลือง นาก ทองเค เงิน ทอง ทองคำขาว และโลหะอื่น ๆ ในการชุบจริงอาจมีการลดขั้นตอนลงตามความเหมาะสมของชิ้นงานด้วย เช่น หากชิ้นงานเป็นเครื่องประดับที่เคยเคลือบมาแล้ว ก็เพียงทำความสะอาดแล้วชุบขั้นสุดท้ายได้เลย ไม่ต้องชุบรองพื้นก่อน เป็นต้น

 

การชุบโลหะมีค่าเป็นกิจกรรมที่มีสารเคมีเกี่ยวข้องด้วยจำนวนมาก ตัวอย่างสารเคมีที่ใช้ในการทำน้ำยาชุบและที่ใช้ในขั้นตอนต่าง ๆ มีดังนี้

 

        สารละลายสำหรับล้างทำความสะอาดผิวชิ้นงาน: การทำความสะอาดทั่วไปใช้สารละลายโซเดียมไซยาไนด์เข้มข้น 20 – 40 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร ถ้าชิ้นงานสกปรกมากอาจต้องทำความสะอาดโดยใช้กรดหรือด่างกัดก่อน
        - น้ำยาชุบทองแดงด่าง : สูตรที่ใช้ทั่วไปประกอบด้วยสารโซเดียมไซยาไนด์ โปตัสเซียมโซเดียมทาร์เทรต โซเดียมคาร์บอเนต และคอปเปอร์ไซยาไนด์ ผสมรวมกันในน้ำกลั่น 
        - น้ำยาชุบทองแดงกรด : เป็นส่วนผสมของสารคอปเปอร์ซัลเฟต กรดซัลฟุริกหรือกรดกำมะถันเข้มข้น 96% กรดไฮโดรคลอริกหรือกรดเกลือ และน้ำยาเงา (ทองแดง) น้ำกลั่น
        - น้ำยาชุบนิกเกิล : มีองค์ประกอบหลักคือ นิกเกิลซัลเฟต นิกเกิลคลอไรด์ กรดบอริค น้ำยาพื้นนิกเกิล น้ำยาเงานิกเกิล น้ำกลั่น

  สารละลายกรด  

        สารต่างๆที่ใช้ในบ้านหรือในชีวิตประจำวันมีอยู่หลายชนิดแต่ละชนิดจะมีสมบัติแตกต่างกัน บางชนิดมีฤทธิ์ในการกัดกร่อนสูง บางชนิดมีกลิ่นเหม็น บางชนิดมีกลิ่นหอม  บางชนิดระเหยง่าย บางชนิดระเหยอยาก  เป็นต้น การจัดจำแนกสารชนิดต่างๆ จึงมีหลายวิธี  สมบัติความเป็นกรด – เบสเป็นสมบัติที่สำคัญของสารอีกประการหนึ่งที่นักวิทยาศาสตร์นิยมนำมาใช้ในการจัดจำแนกประเภทของสาร รองจากสมบัติทางด้านสถานะของสาร  

 

        1. กรด(acid) คือสารประกอบที่มีธาตุไฮโดรเจนเป็นองค์ประกอบเมื่อละลายน้ำแล้วสามารถแตกตัวให้ไฮโดรเจนไอออน (H+) เกิดขึ้น  ในสารละลายกรดทุกชนิดจะมีรสเปรี้ยว เช่น น้ำสมสายชูมีกรดแอซีติกเป็นองค์ประกอบ น้ำมะนาวมีกรดซิตริกเป็นองค์ประกอบ  กรดมดแดงมีกรดฟอร์มิกเป็นองค์ประกอบ เป็นต้น     กรดที่มีอยู่ในผลไม้ต่างๆเป็นกรดอ่อน ซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายของคนเรามากนักและเมื่อนำมาทดสอบกับน้ำยาเจนเชียลไวโอเลต (ยาสีม่วง) จะไม่เปลี่ยนสี  แต่ถ้าเป็นกรดที่ได้จากแร่ธาตุที่คนเราสังเคราะห์ขึ้นจะมีความเข้มข้นสูง  เช่นกรดไฮโดรคลอริก(กรดเกลือ)  กรดไนตริก (กรดดินประสิว) กรดซัลฟิวริก (กรดกำมะถัน) จะมีฤทธิ์กัดกร่อนรุนแรง  สามารถทำลายวัตถุ เสื้อผ้าผิวหนังและเนื้อเยื่อต่างของร่างกายได้  เมื่อนำมาทดสอบกับน้ำยาเจนเชียลไวโอเลตจะเปลี่ยนจากสีม่วงเป็นสีเขียวหรือสีน้ำเงิน ดังนั้นภาชนะที่บรรจุกรดจึงนิยมภาชนะที่ทำด้วยแก้ว เช่นขวดแก้ว   ซึ่งจะต้องติดป้ายแสดงให้ชัดเจนว่า  เป็นสารที่มีฤทธิ์กัดกร่อน อีกทั้งการนำสารที่เป็นกรดมาใช้ต้องระมัดระวังและใช้อย่างถูกวิธีจะทำให้การใช้สารเคมีที่ปลอดภัยด้วย

 

          2. สมบัติบางประการของสารละลายกรด มีดังนี้

           2.1 กรดทุกชนิดจะมีรสเปรี้ยว  ถ้ามีรสเปรี้ยวมากแสดงว่ามีความเป็นกรดมาก เช่นกรดแอซีติกที่เข้มข้นมากจะมีรสเปรี้ยวจัด  เมื่อนำมาทำน้ำส้มสายชู จะใช้ความเข้มข้นเพียง  5 % โดยมวลต่อปริมาตร   ( หมายความว่า ใช้กรดแอซิติก  5  กรัม  ละลายในน้ำ    100   ลูกบาศก์เซนติเมตร )

           2.2 เปลี่ยนสีของกระดาษลิสมัตจากสีน้ำเงินเป็นสีแดง  (กระดาษลิตมัสเป็นอินดิเคเตอร์ชนิดหนึ่งใช้ทดสอบความเป็นกรด-เบส ของสาร)

                  2.3 กรดสามารถทำปฏิกิริยากับโลหะบางชนิดได้ดี เช่น  สังกะสี  แมกนีเซียม  ทองแดง  ดีบุก  และอะลูมิเนียม  ได้แก๊ส  ไฮโดรเจน(H2) ซึ่งเบากว่าอากาศและไวไฟมากทำให้เกิดการระเบิดได้ ตัวอย่างปฏิกิริยาระหว่างโลหะเหล็ก  กับ  กรดซัลฟิวริก ได้แก๊สไฮโดรเจน      
 

 

 

Fe 

 

+

 

H2SO4

 

  →

 

FeSO4

 

+

 

 H2

 

 

 

เหล็ก 

 

 

 

กรดซัลฟิวริก

 

 

 

ไอร์ออนซัลเฟต

 

 

 

แก๊สไฮโดรเจน

 

 

 

 

 นอกจากนี้กรดจะทำปฏิกิริยากับโลหะบางชนิด  เช่น  ทองคำ ทองคำขาว  เงิน  ปรอท ได้ช้ามากหรืออาจไม่เกิดปฏิกิริยาเลย

 

                 2.4  กรดทำปฏิกิริยากับเบสได้เกลือกับน้ำ  เช่น  กรดเกลือทำปฏิกิริยากับโซดาแผดเผาหรือโซเดียมไฮดรอกไซด์ซึ่งเป็นเบส  ได้เกลือโซเดียมคลอไรด์หรือเกลือแกง  การทำปฏิกิริยาระหว่างกรดและเบสที่พอดีจะเรียกว่า ปฏิกิริยาสะเทิน  ดังตัวอย่าง ปฏิกิริยาดังนี้                            

 

   

 

HCl

 

 

 NaOH

 

 → 

 

NaCl 

 

+

 

 H2

 

กรดเกลือ

 


 

โซเดียมไฮดรอกไซด์

 


 

โซเดียมคลอไรด์    

 


 

แก๊สไฮโดรเจน

 


                2.5  กรดสามารถเกิดปฏิกิริยากับหินปูนซึ่งเป็นสารแคลเซียมคาร์บอเนต   ทำให้เกิดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์  โดยเราสามารถทดสอบแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ที่เกิดขึ้นได้โดยผ่านแก๊สเข้าไปในน้ำปูนใสซึ่งเป็นสารละลายของแคลเซียมไฮดรอกไซด์ในน้ำ  ซึ่งจะทำให้น้ำปูนใสขุ่นทันที  เนื่องจากแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ จะทำปฏิกิริยากับสารละลายของแคลเซียมไฮดรอกไซด์ในน้ำปูนใสได้แคลเซียมคาร์บอเนต  ซึ่งเป็นสารที่ไม่ละลายน้ำ ดังตัวอย่าง ปฏิกิริยาต่อไปนี้ 

 

 

2HCl

 

 

CaCO3

 

 

CaCl2

 

+

 

 H2

 

+

 

CO2

 

กรดเกลือ

 


 

แคลเซียมคาร์บอเนต

 


 

คัลเซียมคลอไรด์

 


 

น้ำ

 


 

 แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์  

 

 

                    2.6 สารละลายกรดทุกชนิดนำไฟฟ้าได้ดี  เพราะกรดสามารถแตกตัวให้ไฮโดรเจนไอออน (H+)

               2.7  กรดทุกชนิดมีค่า  PH  น้อยกว่า  7

               2.8  กรดมีฤทิธิ์กัดกร่อนสารต่างๆได้ โดยเฉพาะเนื้อต่างๆของสิ่งมีชีวิต    ถ้ากรดถูกผิวหนังจะทำให้ไหม้เกรียม  ปวดแสบปวดร้อน   ถ้าถูกเส้นใยเนื้อเยื่อเสื้อผ้า   เส้นใยจะถูกกัดกร่อนให้ไหม้ได้ นอกจากนี้กรดยังทำลายเนื้อไม้ กระดาษ  และพลาสติกบางชนิดได้ด้วย

               2.9  ไม่ให้สีกับสารฟีนอล์ฟทาลีน(สารฟีนอล์ฟทาลีนเป็นอินดิเตอร์ชนิดหนึ่งที่ใช้ตรวจสอบสารละลายกรด – เบส)      

     3. ประเภทของสารละลายกรด แบ่งออกเป็น 2  ประเภทใหญ่ๆ  คือกรดอินทรีย์   แล ะ  กรดอนินทรีย์  ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

               3.1  กรดอินทรีย์  เป็นกรดที่ได้จากสิ่งมีชีวิต  เช่นพืช   สัตว์  จุลินทรีย์   หรือได้จากการสังเคราะห์ที่ให้สารที่มีสมบัติเช่นเดียวกับกรดที่ได้จากสิ่งมีชีวิต  ตัวอย่างเช่น

                      3.1.1  กรดกรดแอซิติก  ( acetic   acid ) หรือกรดน้ำส้ม  เป็นกรดที่ใช้ทำน้ำส้มสายชูเป็นสารละลายที่มีกรดแอซิติก  5 % โดยมวลต่อปริมาตร   

                      3.1.2  กรดซิตริก ( citric   acid ) หรือกรดมะนาว  เป็นกรดที่อยู่ในผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวเช่นส้ม   มะนาว   ส้มโอ ฯลฯ

                      3.1.3  กรดอะมิโน  ( amino  acid )  เป็นกรดที่ใช้ในการสร้างโปรตีนของสิ่งมีชีวิต

                      3.1.4  กรดแอสคอร์บิค  ( ascorbic   acid ) หรือวิตามินซีนั่นเอง

               3.2  กรดอนินทรีย์  เป็นกรดที่ได้จากแร่ธาตุ  จึงอาจเรียกว่ากรดแร่ก็ได้   มีความสามารถในการกัดกร่อนสูง  ถ้าถูกผิวหนังหรือเนื้อเยื่อของร่างกายจะทำให้ไหม้  แสบ   หรือมีผื่นคัน  ตัวอย่างเช่น  

                      3.2.1 กรดไฮโดรคลอริก (hydrochloric  acid)  หรือกรดเกลือ                     

                      3.2.2  กรดไนตริก  (nitric  acid)  หรือกรดดินประสิว

                      3.2.3  กรดคาร์บอนิก  (carbonic  acid)  หรือกรดหินปูน

 

 

                      3.2.4  กรดซัลฟิวริก(sulfuric  acid)  หรือกรดกำมะถัน

 

 

สอนเทคนิคการชุบให้กับลูกค้าจริง