ReadyPlanet.com
dot
Plating solutions
dot
bulletน้ำยาร่อนเข็ม
bulletน้ำยาล้างอุลตร้าโซนิค
bulletน้ำยาล้างไฟฟ้า
bulletกรดซัลฟูริค
bulletชุบโรเดียม
bulletชุบรูเธเนี่ยม
bulletชุบพลาเดียม
bulletชุบแพลทตินั่ม
bulletชุบนิเกิลเงา
bulletชุบบรอนซ์สีขาว เหลือง
bulletชุบทองแดง
bulletชุบเงิน
bulletชุบทองหลากหลายสี
bulletผลิตงานฟอร์มมิ่ง-เงิน
bulletชุบแลคเกอร์ไฟฟ้า
bulletแลคเกอร์ปิดผิวงาน
dot
Plating Equipments / accessories
dot
bulletเครื่องชุบงาน
bulletเครื่องแต้มปากกา
bulletปากกาสำหรับแต้ม
bulletหัวปากกาแต้ม
bulletแผ่นล่องานชุบ
bulletJigs for plating
bulletเตาหมุนให้ความร้อน
bulletเครื่องจ่ายกระแสไฟฟ้า
bulletแอมแปร์มินิท
bulletระบบทำความเย็น
bulletระบบดูดอากาศ
dot
Finishing equipments
dot
bulletเครื่องร่อนเข็ม
bulletน้ำยาร่อนงาน
bulletมีเดียร์
dot
Water Purification and treatments
dot
bulletระบบน้ำกลั่น
bulletFiltrations
bulletFilters
bulletผงคาร์บอน
dot
Enamel system
dot
bulletระบบลงสีงาน Enamel
bulletตู้อบ
bulletตัวฉีดสี
bulletหลอดและเข็ม
bulletสีอินาเมล
bulletตัวทำแข็ง Catalyst
bulletทรานส์เฟอร์ ฟอร์ย
dot
Alloys
dot
bulletอัลรอย ทอง/เงิน
dot
Casting
dot
bulletGraphite and Crucibles
bulletInduction Furnaces
bulletElectric Furnaces
dot
Accessories
dot
bulletชุดอุปกรณ์ตรวจสอบ
bulletHull cell test unit
bulletบีกเกอร์
bulletลวดทองแดง
bulletตัววัดอุณหภูมิ
bulletกระดาษกรอง
bulletกระดาษ PH
bulletระบบทำความร้อน
bulletผงถ่านกรอง
bulletน้ำกรดล้างงาน
dot
Services
dot
bulletวิเคราะห์น้ำยา
bulletที่ปรึกษางานชุบ
bulletPlating plan design and implementation
bulletสอนนอกสถานที่
bulletการบำรุงรักษา
dot
Training Courses
dot
bulletการชุบ
bulletEnamel
bulletการขัด
bulletการสกัดน้ำยาชุบ
bulletUpcoming events




คำถาม- ตอบ

ถาม-ตอบ

ถาม : รบกวนด้วยนะคะ่ อยากสอบถามเรื่องงานชุบทองแดงคะ งานที่ชุบแล้วถ้าไม่ลงแล็คเกอร์ ชิ้นงานจะขึ้นจุดดำเยอะแยะเลยคะ เรียกได้ว่าจะทั้งเส้นเลยคะ ไม่ทราบว่าเกิดจากน้ำยาไม่สะอาดรึป่าวคะ แล้วเราจะกรองน้ำยาได้วิธีไหนบ้างคะ จริงๆแล้วเราไม่มีเครื่องกรองที่บ่อชุบทองแดงเงาเลยคะ ซึ่งจริงควรจะมี 

ตอบ : งานชุบทองแดง เมื่อขึ้นจากน้ำยามาแล้ว ต้องรีบทำให้แห้งโดยเร็วที่สุดครับ เนื่องจากทองแดงoxidizeง่ายมาก  จึงทำปฏิกริยากับอากาศเลยเกิดจุดดำขึ้นที่ชิ้นงานครับ ดังนั้นถ้าชุบแล็กเกอร์แล้ว งานก็จะไม่ไม่หมองเร็วครับ เนื่องจากมีฟิลม์มาปิดผิวทองแดงแล้ว ผมอยากแนะนำให้ทำขึ้นตอยตามนี้นะครับ เมื่อขึ้นจากทองแดงแล้ว ให้ล้างน้ำสะอาดนานๆ ซัก2น้ำ แล้วจุ่มชิ้นงานในน้ำกรดsulphuric5% แล้วล้างน้ำอีก2น้ำ จบด้วยน้ำกลั่นแล้วทำให้แห้ง สีของทองแดงจะสวยกว่าครับ     

ถาม : ตอนนี้ผมเจอะปัญหางานชุบโรเดียมลอกครับ อยากทราบสาเหตุและวิธีการแก้ปัญหาครับ

ตอบ : งานชุบลอก เกิดจากไม่ขัดชิ้นงาน ขัดชิ้นงานไม่ดีพอ หรือ ชุบโรเดียมบางเกินไป ทำให้ลอกได้

ถาม : สวัสดีค่ะ คือว่ามีงานเงินต้องการที่ลงดำ (oxidized) แล้วก็ชุบทอง ด้วย ไม่ทราบว่าสามารถทำได้มั้ยคะ ชิ้นงานคือต้องการพื้นลงดำ ส่วนที่เป็นลายนูนจะชุบทองค่ะ

ตอบ : โดยปกติแล้วงานที่ลงดำนั้นมักจะไม่นำกลับไปชุบอีกเพราะว่า อาจทำให้น้ำยาเสียได้ครับ แต่ถ้าต้องการจะชุบ ก็ลงไปชุบได้ตามปกติครับ เสี่ยงน้ำยาเสียกันหน่อย ดังนั้นร้านที่รับชุบจึงไม่รับงานที่ลงดำครับ ต้องทำการล้างลงดำออกก่อนจึงจะรับชุบในขั้นตอนต่อไปได้ มีอีกทางเลือกนึง ถ้าไม่ต้องการชุบทองหนา (ไมครอน) ก็ใช้ปากกาแต้มทองมาใช้ก็จบปัญหาแล้วครับ

 

 

ในปัจจุบัน โลหะเงินเป็นเครื่องประดับที่ได้รับความนิยมอย่างมาก และจัดเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญของประเทศไทย แต่ปัญหาหนึ่งที่ทำให้เครื่องประดับเงินมีคุณค่าลดลง คือ เรื่องความหมอง ถ้าวางโลหะเงินทิ้งไว้ในอากาศจะเกิดการหมอง ปริญญานิพนธ์นี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาถึงคุณภาพการต้านทานความหมองของโลหะเงินที่ผ่านวิธีการใช้โมเลกุลของ สารประกอบไฮโดรคาร์บอนสร้างฟิล์มที่ผิวหน้าในระยะเวลาที่แตกต่างกัน โดยเทียบกับความต้านทานการหมองของโลหะเงิน ด้วยวิธีการชุบน้ำยากันหมองโดยใช้ไฟฟ้า โดยใช้วิธีทดสอบเคมีไฟฟ้าเทคนิคอิมพีแดนซ์ในการทดสอบ หาคุณภาพชั้นฟิล์มของความต้านทานการหมอง 

 

     ชิ้นทดสอบโลหะเงินผสมธาตุเจือ จะถูกนำไปขัดเงาด้วยวิธีการ 2 แบบ คือ ขัดเงาโดยใช้ยาดิน-ยาแดง และขัดเงาโดยใช้ผงอลูมิน่า จากนั้นชิ้นงานทดสอบจะถูกนำไปวัดค่าความสะท้อนแสงและทำการ SAM แล้วนำทดสอบทางเคมีไฟฟ้าเทคนิคอิมพีแดนซ์ จากนั้นนำค่าความต้านทานของฟิล์มที่ได้มาวิเคราะห์เปรียบเทียบเพื่อเลือก วิธีการขัดในการเตรียมผิวชิ้นงาน ส่วนกระบวนการที่ใช้ในการสร้างฟิล์มเพื่อป้องกันการหมองมี 2 วิธีคือ การใช้โมเลกุลของสารประกอบไฮโดรคาร์บอนสร้างฟิล์มที่ผิวหน้าและวิธีการชุบน้ำยากันหมองโดยใช้ไฟฟ้า จากนั้นวางชิ้นงานทิ้งไว้ในสภาพอากาศปกติเป็นระยะเวลาต่างๆกัน คือ 1วัน, 1สัปดาห์, 1เดือน และ3เดือน แล้วจึงนำชิ้นงานทดสอบมาทดสอบหาคุณภาพฟิล์มต้านทานความหมองโดยใช้การทดสอบเคมีไฟฟ้าเทคนิคอิมพีแดนซ์ 

 

      ผลการทดลองพบว่า เมื่อทำการทดสอบวัดค่าความสะท้อนแสง ชิ้นทดสอบที่ผ่านการ SAM จะมีค่า ความสะท้อนแสงมากกว่าชิ้นทดสอบที่ผ่านการชุบน้ำยากันหมองโดยใช้ไฟฟ้า เมื่อเปรียบเทียบในระยะเวลาที่วาง ทิ้งไว้ในสภาพอากาศปกติเท่ากัน และเมื่อทดสอบทางเคมีไฟฟ้าเทคนิคอิมพีแดนซ์ ชิ้นทดสอบที่ผ่านการ SAM มีค่าความต้านทานการหมองมากกว่าชิ้นทดสอบที่ผ่านการชุบน้ำยากันหมองเมื่อเปรียบเทียบในระยะเวลาที่วางทิ้ง ไว้ในสภาพอากาศปกติเท่ากัน และธาตุเจือที่ผสมในโลหะเงินไม่มีผลต่อคุณภาพของชั้นฟิล์มต้านทานการหมอง การชุบเคลือบผิวเครื่องประดับด้วยไฟฟ้า เช่น การชุบทอง เงิน นาก ว่ากันว่าเป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นในประเทศไทยเมื่อ 40 กว่าปีที่แล้ว ปัจจุบันยังคงพบเห็นร้านรับชุบเครื่องประดับ เครื่องหมาย และของที่ระลึกต่างๆ ตามแหล่งชุมชนอยู่บ้าง โดยมักเป็นร้านขนาดเล็กที่ทำคนเดียว ใช้พื้นที่หน้าร้านเพียงเล็กน้อยตั้งอุปกรณ์ รวมไปถึงร้านที่ทำเป็นกิจการขนาดกลางที่มีลูกจ้าง 4-5 คน ทำงานในห้องแถวเล็ก ๆ ไปจนถึงขนาดใหญ่ ที่สามารถชุบชิ้นงานได้เป็นร้อย ๆ ชิ้นในการชุบครั้งเดียว

 

  

 

การชุบโลหะไม่มีค่าประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้  

 

      การชุบทองแดงด่าง เป็นการชุบรองพื้น เพื่อให้การเคลือบผิวขั้นต่อไปยึดเกาะผิวได้ดีขึ้น เนื่องจากทองแดงด่างมีการยึดเกาะกับผิวชิ้นงานได้ดีมาก และโลหะมีค่าที่จะนำมาชุบทับสามารถยึดเกาะกับทองแดงด่างได้ดีกว่าเกาะผิวชิ้นงานโดยตรง รวมทั้งเพื่อเพิ่มความหนาของผิว ส่วนการชุบทองแดงกรดจะทำให้ผิวเรียบมันเงา ทำให้โลหะที่ชุบทับต่อไปเรียบเงา การชุบนิกเกิลจะทำให้ผิวชิ้นงานเป็นเงาสีขาวอมเหลือง เมื่อนำไปชุบทองหรือโลหะอื่นจะได้ชิ้นงานที่มีผิวชุบที่เงางาม ขั้นสุดท้ายเป็นการชุบโลหะมีค่า ได้แก่ โครเมียม ทองเหลือง นาก ทองเค เงิน ทอง ทองคำขาว และโลหะอื่น ๆ 

 

       ในการชุบจริงอาจมีการลดขั้นตอนลงตามความเหมาะสมของชิ้นงานด้วย เช่น หากชิ้นงานเป็นเครื่องประดับที่เคยเคลือบมาแล้ว ก็เพียงทำความสะอาดแล้วชุบขั้นสุดท้ายได้เลย ไม่ต้องชุบรองพื้นก่อน เป็นต้น 

 

การชุบโลหะมีค่าเป็นกิจกรรมที่มีสารเคมีเกี่ยวข้องด้วยจำนวนมาก ตัวอย่างสารเคมีที่ใช้ในการทำน้ำยาชุบและที่ใช้ในขั้นตอนต่าง ๆ มีดังนี้ 

 

สารละลายสำหรับล้างทำความสะอาดผิวชิ้นงาน: การทำความสะอาดทั่วไปใช้สารละลายโซเดียมไซยาไนด์เข้มข้น 20 – 40 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร ถ้าชิ้นงานสกปรกมากอาจต้องทำความสะอาดโดยใช้กรดหรือด่างกัดก่อน 

 

น้ำยาชุบทองแดงด่าง : สูตรที่ใช้ทั่วไปประกอบด้วยสารโซเดียมไซยาไนด์ โปตัสเซียมโซเดียมทาร์เทรต โซเดียมคาร์บอเนต และคอปเปอร์ไซยาไนด์ ผสมรวมกันในน้ำกลั่น  

 

        น้ำยาชุบทองแดงกรด : เป็นส่วนผสมของสารคอปเปอร์ซัลเฟต กรดซัลฟุริกหรือกรดกำมะถันเข้มข้น 96% กรดไฮโดรคลอริกหรือกรดเกลือ และน้ำยาเงา (ทองแดง) น้ำกลั่น 

 

น้ำยาชุบนิกเกิล : มีองค์ประกอบหลักคือ นิกเกิลซัลเฟต นิกเกิลคลอไรด์ กรดบอริค น้ำยาพื้นนิกเกิล น้ำยาเงานิกเกิล น้ำกลั่น

 

 

 

Open your Eye

 

rhodium last longer zero .pdf

วิธีชุบเครื่องประดับที่จะทำให้การชุบน้ำยาโรเดียมซีโรอยู่ได้นาน ยิ่งขึ้น.doc